ธุรกิจที่พักอาศัย ผู้สูงอายุ เติบโตตามสังคมสูงวัย ศูนย์วิจัยแนะเคล็ดลับ พัฒนาให้ตอบโจทย์ กลุ่มผู้สูงวัยที่มีเงินออม และมีแนวโน้มอยู่คนเดียวมากขึ้น
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เปิดเผยรายงานเรื่อง “ธุรกิจที่พักอาศัย ผู้สูงอายุ ทำอย่างไรให้ตอบโจทย์” ว่า ประเทศไทยจะก้าวสู่สังคมสูงอายุโดยสมบูรณ์ ในปี 2567 และอีก 12 ปีข้างหน้าหรือในปี 2575 ไทยจะเข้าสู่สังคมสูงอายุระดับสุดยอด ทำให้กลุ่มผู้สูงอายุที่มีกำลังซื้อ หรือ เงินออม จะเป็นตลาดใหญ่ สำหรับสินค้าและบริการ ที่ถูกออกแบบ มาเพื่อการใช้ชีวิตของผู้สูงอายุ ได้อย่างสะดวกและปลอดภัย
ขณะที่ไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนแปลงไป ของผู้สูงอายุในอนาคต ที่มีแนวโน้มอยู่คนเดียวมากขึ้น สะท้อนจากข้อมูล การสำรวจประชากรผู้สูงอายุ ปี 2560 พบว่า สัดส่วนผู้สูงอายุ ที่อยู่คนเดียว อยู่ที่ประมาณ 10% ของประชากรผู้สูงอายุ เติบโตกว่า 4.5% ในช่วงปี 2550-2560 และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ในอนาคต ส่งผลให้ปัจจัยพื้นฐาน อย่าง ที่พักอาศัย สำหรับผู้สูงอายุ น่าจะเป็นที่ต้องการเพิ่มสูงขึ้น
สำหรับอุปทาน ที่พักอาศัยผู้สูงอายุ ในปัจจุบัน ยังเน้นเจาะตลาดกลุ่ม Upper Class และ Luxury Segment พร้อมกับบริการระดับพรีเมียม สำหรับกลุ่มผู้สูงอายุที่มีกำลังซื้อสูงเป็นหลัก โดยกำหนดให้ ผู้มีสิทธิ์ซื้อ ต้องมีอายุ 50-55 ปีขึ้นไป และชำระค่าเข้าพักเป็นเงินก้อน และเงินจ่ายล่วงหน้า ไม่รวม ค่าส่วนกลาง และค่าใช้จ่ายรายเดือนอื่น ๆ
ดังนั้น จึงยังไม่ตอบโจทย์กลุ่มผู้สูงอายุ ที่มีกำลังซื้อรองลงมา ที่มีการวางแผนเงินออมเพียงพอ ซึ่งที่ผ่านมา ยังคงมีตัวเลือกไม่มากนัก ทำให้น่าจะเป็นโอกาสของผู้ประกอบการ ในการทำตลาด สำหรับกลุ่มเป้าหมายนี้ โดยมีองค์ประกอบ ที่เหมาะสม ทั้งปัจจัยด้านราคา ฟังก์ชั่นที่พักอาศัย และบริการทางการแพทย์ ที่จำเป็น รวมถึง การสร้างความเชื่อมั่น ในการใช้ชีวิตของผู้สูงอายุ
อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาปัจจัยด้านกำลังซื้อ ของผู้สูงอายุ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า กลุ่มเป้าหมายที่มีศักยภาพ ยังคงเป็นกลุ่มผู้สูงอายุ ที่มีเงินออมเพียงพอ หรือมีการวางแผนทางการเงิน หลังเกษียณล่วงหน้า
แต่ยังจำเป็นต้องมีเงื่อนไขสนับสนุน ที่เหมาะสม เพื่อตอบโจทย์ความต้องการ ของผู้สูงอายุ ในกลุ่มที่เน้นการสร้างหลักประกัน ในการดูแลและบริการทางการแพทย์ ที่จำเป็นตลอดระยะเวลาที่เข้าพัก มากกว่าความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัย
เงื่อนไขสนับสนุนสำคัญ ที่จะช่วยให้ตลาดที่พักอาศัย ผู้สูงอายุ ตอบโจทย์ความต้องการ ผู้สูงอายุที่มีศักยภาพ ได้มากขึ้น อาจต้องประกอบด้วย 2 ปัจจัยหลัก ได้แก่
1. การสร้างความเชื่อมั่น ในการรองรับความต้องการ ที่เปลี่ยนแปลงไป ของผู้สูงอายุในแต่ละช่วงเวลา โดยเฉพาะในด้านสุขภาพ หรือ การรักษาพยาบาลแบบ Continuing Care
ดังนั้น แพคเกจที่นำเสนอ ต้องมีความยืดหยุ่นได้ ภายใต้เงื่อนไข ที่ระบุไว้ตามสัญญา มีทรัพยากร หรือ พันธมิตรทางธุรกิจ ที่น่าเชื่อถือ เพื่อสร้างความมั่นใจว่าสามารถดูแลผู้สูงอายุได้อย่างต่อเนื่อง เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงด้านสุขภาพ ของผู้สูงอายุ เช่น หากผู้สูงอายุ เปลี่ยนจากที่เคยดูแลตัวเองได้ เป็นผู้ป่วยที่ต้องการ การรักษาพยาบาล ก็จะสามารถปรับเปลี่ยนบริการ ที่จะได้รับภายใต้เงื่อนไขที่ตกลงไว้
นั่นคือ ผู้สูงอายุสามารถเลือกบริการเพิ่มเติมแบบ Customized ได้เอง ตามความต้องการ สามารถแบ่งจ่าย เป็นรายงวด หรือจ่ายในรูปแบบเบี้ยประกันสุขภาพ ที่จะครอบคลุม บริการทางการแพทย์ที่จำเป็น ตามเงื่อนไขสุขภาพ ในแต่ละช่วงเวลา ทดแทนการนำเสนอแบบ Universal Package ที่ต้องชำระเงินล่วงหน้าเป็นจำนวนมาก
ปัจจุบัน ที่อยู่อาศัยแบบ Continuing Care นี้เป็นที่นิยมอย่างมากในต่างประเทศ ทั้งในสหรัฐอเมริกา และยุโรป เนื่องจากจะสร้างความเชื่อมั่น และเป็นหลักประกัน ในการใช้ชีวิตของผู้สูงอายุได้
2. การปรับกลยุทธ์การตลาด และผลิตภัณฑ์ทางการเงิน ที่จะช่วยเพิ่มความสามารถ ในการซื้อของผู้สูงอายุ ให้เข้าถึงที่อยู่อาศัย ได้มากขึ้น โดยเน้นกลุ่มราคาที่เข้าถึงได้มากขึ้น ซึ่งน่าจะอยู่ที่ระดับไม่เกิน 2.5 ล้านบาทต่อหน่วย รวมถึง การขยายกลุ่มเป้าหมายที่มีสิทธิ์ซื้อ ไปสู่กลุ่มที่ดูแลผู้สูงอายุ และ วัยทำงานที่วางแผนที่อยู่อาศัย หลังเกษียณล่วงหน้า ตั้งแต่อายุ 45 ปีขึ้นไป
ทั้งนี้ อาจนำเสนอรูปแบบ การซื้อสิทธิ์ ในลักษณะผ่อนชำระระยะยาว สำหรับเข้าอยู่ เมื่ออายุถึงตามเกณฑ์ที่กำหนด เพื่อช่วยลดความเสี่ยง จากการจ่ายเป็นเงินก้อน และดำเนินการควบคู่ไปกับ การนำผลิตภัณฑ์ทางการเงิน ที่สนับสนุนให้มีการวางแผนการเงิน สำหรับที่อยู่อาศัย หลังเกษียณ
ตัวอย่างเช่น ในประเทศสิงคโปร์ ที่กำหนดให้มีการออมภาคบังคับ ผ่านกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Central Provident Fund) เพื่อเป็นค่าที่พักอาศัย บริการทางการแพทย์ และค่าใช้จ่ายหลังเกษียณ
ทั้ง 2 แนวทางข้างต้น น่าจะช่วยให้ ธุรกิจที่พักอาศัย ผู้สูงอายุ สามารถตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมาย ที่มีเงินออมเพียงพอ ได้มากกว่าที่เป็นอยู่ ในปัจจุบัน ซึ่งอาจยังต้องอาศัย ปัจจัยส่งเสริม ประกอบด้วย เช่น ความร่วมมือ ระหว่างผู้ประกอบการเอกชน กับหน่วยงานภาครัฐ โรงพยาบาลรัฐ เพื่อให้มีมาตรฐาน ที่ได้รับการรับรอง และน่าเชื่อถือ สำหรับการเป็นที่อยู่อาศัยเพื่อผู้สูงอายุ
ไม่ว่าจะเป็น การอนุญาตให้พัฒนาโครงการที่พักผู้สูงอายุ บนที่ดินของรัฐ การร่วมลงทุนพัฒนาโครงการกับรัฐ และแบ่งพื้นที่บางส่วน เป็นที่พักผู้สูงอายุของรัฐ การสนับสนุนให้ Startup ที่มีความเชี่ยวชาญ ร่วมพัฒนาโครงการ ซึ่งหากสามารถขยายตลาดดังกล่าว ให้ครอบคลุมกลุ่มผู้อายุได้มากขึ้น ก็จะเป็นผลบวกต่อการจัดการสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุของไทย ในระยะยาวด้วย
อ่านข่าวเพิ่มเติม
Add Friend Follow"ที่พักอาศัย" - Google News
August 24, 2020 at 07:01AM
https://ift.tt/32pvNAS
ธุรกิจที่พักอาศัย ผู้สูงอายุ เคล็ดลับพัฒนาให้ ตอบโจทย์-โดนใจวัยสีเทา - thebangkokinsight.com
"ที่พักอาศัย" - Google News
https://ift.tt/3eFkBV2
Bagikan Berita Ini
0 Response to "ธุรกิจที่พักอาศัย ผู้สูงอายุ เคล็ดลับพัฒนาให้ ตอบโจทย์-โดนใจวัยสีเทา - thebangkokinsight.com"
Post a Comment