Search

นักวิชาการมธ.ชี้ รัฐ-เอกชนจับมือผุดที่อยู่อาศัยคนรายได้น้อยสู้โควิด - เดลีนีวส์

kartelmulu.blogspot.com
เมื่อวันที่ 10 มิ.ย.ดร.พรรัตน์ พงษ์ประเสริฐ อาจารย์ประจำโครงการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดเผยว่า ขณะนี้การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19 ได้เปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันของประชาชนเป็นอย่างมาก ซึ่งทำให้คนทำงานหลายคนตกงานทันที และอีกหลายคนมีรายได้ที่ลดลง ในขณะที่รายจ่ายในครอบครัวยังคงเท่าเดิม โดยสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้คาดการณ์ไว้ว่า ในปี 2563 จากผลกระทบโควิด-19 จะมีผู้ว่างงานประมาณ 2 ล้านคน

ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่มีรายได้ระดับปานกลางไปจนถึงรายได้น้อย ในพื้นที่กรุงเทพมหานครเป็นหลัก ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคม ทั้งการเข้าถึงแหล่งงาน การเข้าถึงระบบโครงสร้างพื้นฐาน ระบบขนส่ง และบริการสาธารณะต่างๆที่จำเป็น รวมทั้งความสามารถในการซื้อและเช่าที่พักอาศัยในเมืองชั้นกับผู้ที่มีรายได้น้อยและปานกลางสามารถทำได้ยาก

ดร.พรรัตน์ กล่าวต่อไปว่า ขณะเดียวกันยังพบว่าประเทศไทยไม่ได้มีการวางแผนและการดำเนินการแบบเป็นรูปธรรมสำหรับผู้ที่มีรายได้น้อยและปานกลางให้เข้าถึงโครงการที่พักอาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อย (Low-income housing) ดังนั้นถึงเวลาแล้วที่ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนต้องร่วมมือกันอย่างจริงใจ ในการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน ร่วมกันพัฒนาโครงการที่พักอาศัยที่คนทุกชนชั้นสามารถจ่ายได้ ครอบครองและอยู่อาศัยได้อย่างมีความสุข เพราะในต่างประเทศก็มีการช่วยเหลือให้แก่ผู้ที่มีรายได้ต่ำ ซึ่งก็คือโครงการ Affordable Housing ที่อยู่อาศัยที่ทุกคนจ่ายได้

สำหรับโครงการ “Affordable housing” หรือ โครงการที่อยู่อาศัยที่สามารถเอื้อมถึงได้หรือจ่ายได้นั้น จะพิจารณาจากสัดส่วนของค่าใช้จ่ายด้านที่อยู่อาศัยต่อรายได้ของครัวเรือน ซึ่งประเทศไทย การพัฒนาโครงการบ้านที่จ่ายได้นั้น ถูกพูดถึงอย่างมาก ในมาตรการส่งเสริมการพัฒนาการเพิ่มอัตราส่วนพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดิน FAR ในกฎหมายผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2556 ที่จูงใจให้เอกชนร่วมลงทุนในโครงการที่พักอาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อย และได้รับสิทธิประโยชน์ดังกล่าว แต่อย่างไรก็ตาม จนถึงปัจจุบันยังไม่มีโครงการใดเข้าร่วมในมาตรการนี้ เพราะนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ยังเชื่อว่า การออกแบบพื้นที่พักอาศัยบางส่วนภายในโครงการเพื่อผู้มีรายได้น้อยไม่เป็นประโยชน์ต่อโครงการ

อย่างไรก็ตามเชื่อได้ว่าภายหลังวิกฤตโควิด-19 ภาครัฐและเอกชนจะเริ่มตระหนักมากขึ้น โดยเฉพาะการพัฒนารูปแบบโครงการที่พักอาศัยที่มีราคาสอดคล้องกับระดับรายได้ในชุมชนที่อยู่อาศัยของคนหลากหลายชนชั้น รวมทั้งออกแบบพื้นที่สาธารณะให้มีความสมดุลกับจำนวนผู้อยู่อาศัยในพื้นที่ โครงการ Affordable housing ที่ควรมีทั้งในอาคารแนวตั้งในเมือง และโครงการแนวราบในเขตชานเมือง ที่เข้าถึงระบบขนส่งสาธารณะ และบริการสาธารณะของภาครัฐได้ง่าย แนวทางการลงทุนในโครงการที่พักอาศัยประเภทนี้ ควรเป็นการร่วมกันพัฒนา ซึ่งทำให้กลุ่มคนที่มีรายได้น้อยและปานกลางมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้
 

Let's block ads! (Why?)



"ที่พักอาศัย" - Google News
June 10, 2020 at 11:35AM
https://ift.tt/3hjBCq4

นักวิชาการมธ.ชี้ รัฐ-เอกชนจับมือผุดที่อยู่อาศัยคนรายได้น้อยสู้โควิด - เดลีนีวส์
"ที่พักอาศัย" - Google News
https://ift.tt/3eFkBV2


Bagikan Berita Ini

0 Response to "นักวิชาการมธ.ชี้ รัฐ-เอกชนจับมือผุดที่อยู่อาศัยคนรายได้น้อยสู้โควิด - เดลีนีวส์"

Post a Comment

Powered by Blogger.